สุขภาพดีได้ทั้งกายจิต ส่งเสริมวิทยาแรงให้แข็งขัน ทั้งระเบียบวินัยดีมีครบครัน มารยาทนั้นงามสมตามวัย

thzh-CNen

โรงเรียนแสงโสมมองเห็นความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ต้องมุ่งเน้นหลักเหตุและผลจึงจะนำไปสู่ความเข้าใจ ดังนั้น นักเรียนจึงได้เรียนรู้หลักทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองต่างๆ เช่น ตัวอย่างการทดลองเรื่องความแข็งแรงของเส้นผม

5.5 ผิวหนังและผม

กิจกรรม การวัดความแข็งแรงของเส้นผม

อุปกรณ์ เส้นผมยาวๆ 2-3 เส้น โดยแต่ละเส้นได้มาจากคนละคนกัน หนังสือหนาๆ 1 ตั้ง สก็อตช์เทป เหรียญ10 บาท 15-20 เหรียญ ดินสอยาวๆ 1 แท่ง

การทำ

hair

  • ครูแปะสก็อตช์เทป บนเหรียญสิบทุกเหรียญ โดยให้ปลายเทปยื่นพ้นเหรียญออกมาประมาณ 3 ซม.ทั้งสองข้า
  • วางหนังสือซ้อนกันแล้วเอาดินสอสอดไว้ที่ความสูงระดับหนึ่งที่สูงกว่าความยาวของเส้นผม ให้ปลายดินสอยื่นออกมาจากตั้งหนังสือประมาณ 10 ซม.
  • พันปลายเส้นผมข้างหนึ่งรอบดินสอประมาณ 2 รอบแล้วเอาเทปติดให้แน่น ปล่อยให้ปลายเส้นผมอีกข้างหนึ่งห้อยลงมา
  • เอาเหรียญสิบที่แปะเทปแล้วติดเข้ากับปลายเส้นผมที่ห้อยลงมา โดยใช้เทปพันรอบเส้นผมให้แน่น
  • ให้นักเรียนทายว่า ต้องใช้เหรียญสิบกี่เหรียญห้อยที่ปลายผมจึงจะทำให้เส้นผมขาด แล้วเขียนคำทายลงในหนังสือ
  • ครูแปะเหรียญสิบเพิ่มไปเรื่อยๆทีละเหรียญ (ควรให้นักเรียนออกมาดูทีละกลุ่ม) จนกว่าเส้นผมจะขาด แล้วนับเหรียญที่ทำให้เส้นผมขาด บันทึกลงในหนังสือ (ถ้าทายไว้ผิดก็ไม่เป็นไร เพราะวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต้องมีการทำนายก่อนแล้วจึงทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ความจริง)
  • เริ่มทำการทดลองใหม่กับเส้นผมอีกเส้นหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงระหว่างเส้นผมทั้งสอง เส้นใดสามารถทนน้ำหนักเหรียญได้มากกว่า เส้นนั้นก็แข็งแรงกว่า

 

บันทึกการทดลอง

จำนวนเหรียญสิบที่ทำให้เส้นผมขาด
 

 

 ทำนาย

 ผลตามจริง

 เส้นผมเส้นที่ 1    
 เส้นผมเส้นที่ 2    


สรุปผลการทดลอง

เส้นผมเส้นที่1 มีความแข็งแรง มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เส้นผมเส้นที่ 2

 



บทที่ 7 แรงและการเคลื่อนที่

กิจกรรม การทดลองเรื่องแรงที่มองไม่เห็น
** หมายเหตุ : ทำพร้อมกิจกรรมการทดลองเรื่องแรงกดบนกระดาษปากแก้ว

อุปกรณ์ กระดาษหนังสือพิมพ์ใหม่ๆ 1 คู่ ไม้บรรทัด 1 อัน

การทำ

force

  • วางกระดาษหนังสือพิมพ์ลงบนโต๊ะเรียบๆ ให้ด้านแคบอยู่เสมอกับขอบโต๊ะ
  • รีดหนังสือพิมพ์ให้เรียบ ไม่มีรอยพับ
  • ค่อยๆสอดไม้บรรทัดเข้าไปตรงกลางระหว่างหนังสือพิมพ์ชั้นบนและชั้นล่างโดยให้โผล่ปลายออกมาพ้นโต๊ะ 3 - 4 นิ้ว
  • ให้อาสาสมัครออกมา ตีแรงๆ บนไม้บรรทัดที่โผล่ออกมา ทำหลายๆคน สังเกตผลที่เกิดขึ้น
  • ให้อาสาสมัครออกมา ค่อยๆกดช้าๆ ลงบนไม้บรรทัดที่โผล่ออกมา ทำหลายๆคนและ สังเกตผลที่เกิดขึ้น


สรุปผลการทดลอง
 

1. บนกระดาษมี แรงดันอากาศ น้ำหนักกระดาษ กดทับอยู่ ไม้บรรทัดจึงไม่สามารถถูกงัดขึ้นมาได้
  เมื่อตีบนไม้บรรทัดแรงๆ
2. เมื่อกดไม้บรรทัดช้าๆ น้ำ อากาศ สามารถแทรกเข้าไปใต้กระดาษได้ ทำให้ มี ไม่มี
  แรงดันอากาศใต้กระดาษด้วย ไม้บรรทัดจึงถูกงัดขึ้นมาได้